วันเสาร์ที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2556

หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2551 ฉบับภาษาอังกฤษ (English Version)

หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2551 ฉบับภาษาอังกฤษ (English Version) 

เพื่อให้ครูชาวต่างชาติได้เข้าใจ และนำไปใช้ได้ถูกต้อง ในการวัดประเมินผล ตลอดจน ครูไทยสามารถอธิบายให้ครูต่างชาติเข้าใจถึง แนวทางและวิธีการที่จะใช้ในการเรียนการสอนนักเรียนให้ถูกต้อง และตรงตามหลักสูตรแกนกลางฯ 2551

หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2551  ที่ได้ทำการแปล เป็น ภาษาอังกฤษ (English Version) ที่สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นผู้ดำเนินการ ซึ่งในฉบับนี้ ไม่ได้จัดทำเป็นรูปเล่ม แต่ทำในรูปไฟล์ (Soft Files) ให้แก่ผู้สนใจ ได้

ดาวน์โหลดตรงนี้

Download Here

รวมเล่ม เอกสารการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ ตามหลักสูตรแกนกลางฯ 2551

 รวมเล่ม เอกสารการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ ตามหลักสูตรแกนกลางฯ 2551

รวมเล่ม เอกสารที่เกี่ยวข้องกับ การวัดและประเมินผลการเรียนรู้  ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ เอกสารที่ปรับปรุงล่าสุด เมื่อ กันยายน 2553 (จากโรงพิมพ์) จำนวน 11 เล่ม เช่น  ชุดฝึกอบรม  แนวปฎิบัติการวัดผล  การสร้างและพัฒนาเครื่องมือวัดผล การวัดและประเมินผลระดับชั้นเรียน  และ E-Book ที่เกี่ยวข้องกับหลักสูตรแกนกลาง ฯ


สำหรับเป็นแนวทางในการวัดและประเมินผลการเรียนรู้

ดาวน์โหลดตรงนี้

มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด ตามหลักสูตรแกนกลาง ฯ 2551

มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด ตามหลักสูตรแกนกลาง ฯ  2551

เป็นตัวมาตรฐานที่ผู้เรียนจะต้องเรียนรู้ และผ่านการประเมิน ตามหลักสูตร

ดาวน์โหลดตรงนี้

แนวการวัดและประเมินผลคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ตามหลักสูตรแกนกลางฯ 2551

 แนวการวัดและประเมินผลคุณลักษณะอันพึงประสงค์  ตามหลักสูตรแกนกลางฯ 2551

คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน ๘ ข้อ  ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน  พุทธศักราช  ๒๕๕๑  ที่นักเรียนควรทราบ ควรระลึก และต้องหมั่นปฏิบัติอยู่เสมอ

มีดังนี้

๑. รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์

ตัวชี้วัด
๑.๑  เป็นผลเมืองที่ดีของชาติ
๑.๒  ธำรงไว้ซึ่งความเป็นไทย
๑.๓  ศรัทธา ยึดมั่น และปฏิบัติตนตามหลักศาสนา
๑.๔  เคารพเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์

๒. ซื่อสัตย์สุจริต

ตัวชี้วัด
๒.๑  ประพฤติตรงตามความเป็นจริงต่อคนเองทั้งกาย และวาจา ใจ
๒.๒  ประพฤติตรงตามเป็นจริงต่อผู้อื่นทั้ง กาย วาจา ใจ

๓. มีวินัย

ตัวชี้วัด
๓.๑  ประพฤติตามข้อตกลง กฎเกณฑ์ ระเบียบข้อบังคับของครอบครัว โรงเรียน และสังคม

๔. ใฝ่เรียนรู้

ตัวชี้วัด
๔.๑   ตั้งใจเพียงพยายามในการเรียน และเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้
๔.๒   แสวงหาความรู้รู้จากแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกโรงเรียนด้วยการเลือกใช้สื่ออย่างเหมาะสม สรุปเป็นองค์ความรู้ และสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้

๕. อยู่อย่างพอเพียง

ตัวชี้วัด
๕.๑  ดำเนินชีวิตอย่างพอประมาณ มีเหตุผล รอบคอบ มีคุณธรรม
๕.๒  มีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี ปรับตัวเพื่ออยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข

๖. มุ่งมั่นในการทำงาน

ตัวชี้วัด
๖.๑  ตั้งใจและรับผิดชอบในหน้าที่การงาน
๖.๒  ทำงานด้วยเพียงพยายามและอดทนเพื่อให้สำเร็จตามเป้าหมาย

๗. รักความเป็นไทย

ตัวชี้วัด
๗.๑  ภาคภูมิใจในขนบธรรมเนียมประเพณี ศิลปะ วัฒนธรรมไทยและมีความกตัญญูกตเวที
๗.๒  เห็นคุณค่าและใช้ภาษาไทยในการสื่อสารได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
๗.๓  อนุรักษ์และสืบทอดภูมิปัญญาไทย

๘. มีจิตสาธารณะ

ตัวชี้วัด
๘.๑  ช่วยเหลือผู้อื่นด้วยด้วยความเต็มใจโดยไม่หวังผลตอบแทน
๘.๒  เข้าร่วมกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อโรงเรียน ชุมชน และสังคม





เอกสารแนวทางการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

เอกสารแนวทางการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน 

เป็นเอกสารร่าง แนวทางเพื่อการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาผู้เรียน ตามหลักสูตรแกนกลางฯ 2551

ดาวน์โหลดตรงนี้

เอกสารประกอบการวัดและประเมินผล ตามหลักสูตรแกนกลางฯ 2551

 เอกสารประกอบการวัดและประเมินผล ตามหลักสูตรแกนกลางฯ 2551

เอกสาร ประกอบการประชุมวิทยากรแกนนำ เกี่ยวกับการวัด และประเมินผล ระหว่างวันที่ 21-24 มีนาคม 2553 ณ โรงแรมแอมบาสเดอร์ จอมเทียน  สัตหีบ  ชลบุรี

ดาวน์โหลดตรงนี้

สาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย (ฉบับสมบูรณ์)

สาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย (ฉบับสมบูรณ์) 

ภาษาไทย ภาษาแห่งความภาคภูมิใจ  แต่ดูเหมือนจะถูกกลืนไปกับวัฒนธรรมทางภาษาอื่นๆ ไปหมดแล้ว หลักสูตรนี้จะช่วยได้อย่างไร ก็เอาไปศึกษาดูครับท่าน

ดาวน์โหลดตรงนี้

สาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ (ฉบับสมบูรณ์)

 สาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ (ฉบับสมบูรณ์) 

ประกอบด้วย คณิตศาสตร์ เลขาคณิต ตรีโกณ แคนคูลัส เป็นต้น

ดาวน์โหลดตรงนี้

สาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฉบับสมบูรณ์)

สาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฉบับสมบูรณ์) 

ประกอบด้วย สาระวิทยาศาตร์ ฟิสิกซ์ เคมี ชีววิทยา เป็นต้น

ดาวน์โหลดตรงนี้

สาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม (ฉบับสมบูรณ์)

สาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม  (ฉบับสมบูรณ์)

ประกอบด้วย สังคมศึกษา ประวัติศาสตร์ และพระพุทธศาสนา

ดาวน์โหลดตรงนี้

สาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาพลศึกษา (ฉบับสมบูรณ์)

สาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาพลศึกษา (ฉบับสมบูรณ์) 

ประกอบด้วย สุขศึกษา และพลศึกษา ตลอดจน หลักสูตรเพิ่มเติมอื่นๆ ที่เกี่ยวกับสุขศึกษา หรือ พลศึกษา

ดาวน์โหลดตรงนี้

สาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (ฉบับสมบูรณ์)

 สาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (ฉบับสมบูรณ์) 

ประกอบด้วย ทัศนศิลป์ ดนตรี นาฏศิลป์ 

ดาวน์โหลดตรงนี้

สาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้กลุ่มการงานอาชีพและเทคโนโลยี (ฉบับสมบูรณ์)

สาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้กลุ่มการงานอาชีพและเทคโนโลยี (ฉบับสมบูรณ์) 

ประกอบด้วยวิชาการงานอาชีพ และคอมพิวเตอร์ หรือเทคโนโลยีสารสนเทศ

ดาวน์โหลดตรงนี้

สาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนภาษาต่างประเทศ (ฉบับสมบูรณ์)

สาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนภาษาต่างประเทศ (ฉบับสมบูรณ์) 

เป็นโครงสร้างสาระภาษาต่างประเทศ (อังกฤษ) ที่แต่ละสถานศึกษาจะต้องนำไปเพิ่มเติม หลักสูตรท้องถิ่นก่อนนำไปใช้ในแต่ละสถานศึกษา

ดาวน์โหลดตรงนี้

Down Load หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551

Down Load หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 

หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551

ไฟล์ที่ให้ดาวน์โหลดนี้ เป็น ฉบับ สมบูรณ์ พิมพ์ 4 สี  และจะให้กับสถานศึกษาทุกแห่งตั้งแต่เดือน เมษายน 2552 เป็นต้นไป


ดาวน์โหลดตรงนี้

เป้าหมายหลักสูตรใหม่มุ่งสอนให้คิดต่าง-ทำงานเป็น



รศ.ดร.สมพงษ์ จิตระดับ อาจารย์คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ ในฐนะกรรมการปฏิรูปหลักสูตรและตำราการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ เปิดเผยความคืบหน้าในการจัดทำหลักสูตรใหม่ว่า เมื่อเร็วๆนี้ที่ประชุมได้นำข้อมูลจากการวิจัยสำรวจซึ่งค้นพบคุณลักษณะของเด็กไทยในปัจจุบัน ที่น่าเป็นห่วงและต้องแก้ไข มาเป็นเป้าหมายในการจัดทำหลักสูตรการศึกษาใหม่เพื่อเปลี่ยนแปลงคุณลักษณะของเด็กไทยให้ดีขึ้น  โดยคุณลักษณะของเด็กที่พบมี 3 กลุ่ม คือ 

1.การยอมรับการคอรัปชั่น  
2.มีเด็กไทย 12% เท่านั้นที่คิดเป็นคิดได้และกล้าแสดงความคิดเห็น ขณะที่  63% คิดได้แต่เงียบ ไม่แสดงออก สุดท้ายก็คล้อยตามผู้อื่น  และที่เหลืออีก 25% เป็นเด็กที่คิดไม่ได้ แสดงออกก็ไม่ได้  ซึ่งข้อค้นพบดังกล่าวสะท้อนให้เห็นว่า สังคมไทยไม่มีความคิดเห็นที่หลากหลาย ไม่มีวิธีคิด และ  
3.เด็กไทยขี้เกียจทำงาน ทำงานไม่เป็น เพราะเรียนอย่างเดียว 

รศ.ดร.สมพงษ์ กล่าวต่อไปว่า จากข้อค้นพบดังกล่าวทำให้จำเป็นต้องปรับเรื่องการจัดการเรียนการสอนใหม่  จากเดิมที่ครูเขียนข้อมูลบนกระดานแล้วให้เด็กแสดงความเห็นว่า เห็นด้วยหรือไม่ หากไม่เห็นด้วย ครูก็จะพยายามชักจูงให้เด็กเห็นด้วยกับครู มาเป็นว่า ครูจะต้องถามเด็กว่า ใครที่มีความคิดเห็นที่แตกต่างไปจากครู แล้วนำเสนอเพื่ออภิปราย ซึ่งจะเป็นการส่งเสริมให้เด็กกล้าคิดกล้าแสดงออก มิฉะนั้นสังคมไทยจะคิดเห็นคล้อยกันไปทั้งประเทศ ขณะเดียวกันต้องปรับค่านิยมของพ่อแม่ด้วยไม่ใช่ให้ลูกเรียนอย่างเดียว เพราะคิดแต่อยากให้ลูกสบาย จนทำงานไม่เป็น

รศ.ดร.สมพงษ์ กล่าวอีกว่า สำหรับการจัดเวลาเรียนนั้น ที่ประชุมเห็นว่า ระดับประถมแต่เดิมที่กำหนดว่าควรเรียนในห้องเรียน 800 ชั่วโมง ยังมากเกินไป น่าจะจัดให้เหลือไม่เกิน 600 ชั่วโมง แล้วไปเพิ่มการเรียนรู้นอกห้องเรียนแทน  

ส่วนวิชาที่จะจัดการเรียนการสอนก็เน้นไปตามช่วงชั้น เริ่มตั้งแต่ช่วงชั้นที่ 1 ระดับ ป.1-3 จะเน้นการเรียน 3 วิชาหลัก คือ ภาษาไทย คณิตศาสตร์ และภาษาอังกฤษ เนื่องจากมีงานวิจัยระบุชัดเจนว่า หากเด็กเก่งคณิตศาสตร์จะส่งผลให้เรียนเก่งในทุกวิชา  แต่ระดับประถมจะมีการบูรณาการโครงงานให้เด็กได้เรียนรู้และเก็บข้อมูลเป็นส่วนเสริม ทั้งโครงงานวิทยาศาสตร์ โครงงานสังคมและชุมชน โครงงานสุนทรียะ คุณธรรมและวิถีประชาธิปไตย 

เมื่อขึ้นระดับมัธยมแล้ว การเรียนในลักษณะบูรณาการจะลดลง และเพิ่มการเรียนเป็นรายวิชามากขึ้น รวมถึงการเรียนรู้ด้านทักษะชีวิตและโลกของงาน  เพื่อให้เด็กทำงานเป็น และเห็นความสำคัญของงาน ไม่ว่าจะจบชั้นไหนก็สามารถทำงานได้ เป็นคนดีในวิถีประชาธิปไตย และมีทักษะในการเรียนรู้ตลอดชีวิต

ที่มา ผู้จัดการออนไลน์

หลักสูตรพื้นฐานใหม่มี 6 กลุ่มสาระ ที่อาจจะได้ทันใช้ ในปี 2557


รศ.ดร.สมพงษ์ จิตระดับ อาจารย์คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฐานะกรรมการปฏิรูปหลักสูตรและตำราการศึกษาขั้นพื้นฐาน เปิดเผยว่า จากการประชุมคณะกรรมการปฏิรูปฯ ที่มี ศ.ดร.ภาวิช ทองโรจน์ ที่ปรึกษารมว.ศึกษาธิการ เป็นประธาน เมื่อเร็ว ๆ นี้ ได้ข้อสรุปเบื้องต้นว่า มีแนวโน้มที่จะยกเลิกหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551 ที่มี 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ มาเป็นหลักสูตรใหม่โดยเหลือ 6 กลุ่มสาระ ได้แก่

1. ภาษาและวัฒนธรรม (Language and Culture) 
2. กลุ่มสาระวิชาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรม และคณิตศาสตร์ (STEM) 
3. การดำรงชีวิตและโลกของงาน (Work Life) 
4. ทักษะสื่อและการสื่อสาร (Media Skill and Communication) 
5. สังคมและมนุษยศาสตร์ (Society and Humanity) และ 
6. อาเซียน ภูมิภาคและโลก (Asean Region and World)

ซึ่งหลักสูตรใหม่นอกจากจะลดจำนวนกลุ่มสาระการเรียนรู้แล้ว จะมีการลดชั่วโมงเรียนลงด้วย แต่จะเพิ่มโครงงาน หรือการทำกิจกรรมนอกห้องเรียนแทน เพื่อให้เด็กได้ฝึกการคิดวิเคราะห์และการแก้ปัญหาด้วยตัวเองได้

"หลักสูตรใหม่ดังกล่าว มีความครอบคลุมสาระวิชาที่จำเป็นสำหรับนักเรียนในแต่ละระดับชั้น ซึ่งคณะกรรมการได้ศึกษาตัวอย่างโครงสร้างหลักสูตรของต่างประเทศไม่น้อยกว่า 12 ประเทศ มาประกอบกับเนื้อหาหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานของไทย ซึ่งพบว่าหลักสูตรของเรายังมีจุดอ่อนอยู่มาก เช่น เราให้เด็กเรียนถึง 8 กลุ่มสาระ ขณะที่ประเทศอื่น ๆ เรียนเพียง 3-4 กลุ่มสาระแล้วค่อย ๆ เติมเนื้อหาสาระที่จำเป็นเข้าไป ซึ่งหลังจากนี้คณะทำงานของแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ใหม่ทั้ง 6 กลุ่มจะไปวางแนวทางและรูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่เหมาะสมกับผู้เรียนแต่ละระดับ โดยคาดว่าในอีก 6 เดือนพิมพ์เขียวจะแล้วเสร็จ จากนั้นจะส่งให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) นำไปประชาพิจารณ์รับฟังความเห็นต่อไป" รศ.ดร.สมพงษ์ กล่าว.

อย่่างไรก็ตาม ยังมีการถกเถียงและยังไม่มีความแน่ชัดในการเปลี่ยนแปลง ในเรื่องของหลักสูตรและระยะเวลาที่จะนำมาประกาศใช้ ตลอดจนเนื้อหาในหลักสูตรที่ยังมีการถกเถียง โดยเฉพาะวิชานาฏศิลป์ที่หายไป หรือคิดว่าหายไป จากหลักสูตร เพราะหลายฝ่ายคิดว่า ไม่มีความสำคัญหรือมีความสำคัญน้อยลงไป

นาฏศิลป์จะอยู่หรือไป ก็ต้องรอคำตอบที่แน่ชัด จากผู้ร่างหลักสูตรใหม่ ที่ปัจจุบัน ยังคงถกเถึยงกันอยู่ และอาจจะมองว่า ทะเลาะกันอยู่ก็ได้

ที่มา ผู้จัดการออนไลน์


ดาวน์โหลด แบบเรียนภาษาไทย ในตำนาน มานี มานะ ปีติ ชูใจ

มานี มานะ ปีติ และชูใจ นับเป็นวรรณกรรม แบบหนังสือเรียนอมตะ ที่ได้รับการกล่าวขาน และอยากให้เป็นบทเรียนที่นำกลับมาใช้อีก
------------------------------------------------------------------------------
แม้ทุกวันนี้ พัฒนาการเรียนการสอนของไทย ตามหลักสูตรใหม่ๆ ที่พัฒนาออกมา และมีหนังสือออกมาแต่ละยุคสมัยที่เปลี่ยนไป จะมีการปรับปรุงให้มีความแตกต่าง ปรับใหัทันสมัยไปบ้างก็ตาม แต่แทบพูดได้เลยว่า วรรณกรรม แบบเรียนภาษาไทย ชุดมานี มานะ ปีติ ชูใจ คือแบบเรียนที่มีคนกล่าวขานถึงและประสบความสำเร็จในการนำไปใช้ และที่สำคัญ  ยังไม่เคยปรากฏว่ามีใครวิจารณ์ว่า แบบเรียนชุดนี้ ไม่ดี หรือไม่เหมาะสมอย่างไร

------------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด แบบเรียนภาษาไทย ในตำนาน มานี มานะ ปีติ ชูใจ

ป.1 เล่ม 1
ป.1 เล่ม 2

ป.2 เล่ม 1
ป.2 เล่ม 2

ป.3 เล่ม 1
ป.3 เล่ม 2

ป.4 เล่ม 1
ป.4 เล่ม 2

ป.5 เล่ม 1
ป.5 เล่ม 2

ป.6 เล่ม 1
ป.6 เล่ม 2


Educational Resource: ความเป็นมา มานะ มานี ปิติ ชูใจ

Educational Resource: ความเป็นมา มานะ มานี ปิติ ชูใจ: มานะ มานี ปิติ ชูใจ จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี ----------------------------------------------------------------------------------------- ...

ความเป็นมา มานะ มานี ปิติ ชูใจ

มานะ มานี ปิติ ชูใจ
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
-----------------------------------------------------------------------------------------
ปกหนังสือแบบเรียน
มานะ มานี ปิติ ชูใจ เป็นชุดแบบเรียนภาษาไทยระดับประถมศึกษา ในชั้นประถมปีที่ 1-6 รวมทั้งสิ้น 12 เล่ม ซึ่งใช้ในการเรียนการสอนภาษาไทยระหว่างปี พ.ศ. 2521-พ.ศ. 2537 เขียนโดยรัชนี ศรีไพรวรรณ และใช้รูปภาพประกอบกับเนื้อหาโดยเขียนภาพประกอบโดย 3 คือ เตรียม ชาชุมพร นักวาดการ์ตูนและนิยายภาพชื่อดังแห่งชัยพฤกษ์การ์ตูน, โอม รัชเวช และปฐม พัวพิมล

ประวัติ
------------------------------------------------------------------------------------------
ที่มาของแบบเรียน เริ่มจากกระทรวงศึกษาธิการมีความต้องการ ต้องการเปลี่ยนหลักสูตรใหม่ ซึ่งแต่เดิมแบบเรียนภาษาไทยชุดเก่าดูโบราณเกินไป โดยตั้งเงื่อนไขว่า ต้องให้เด็ก ๆ อ่านแล้วรู้สึกสนุก ติดใจ อยากเรียนภาษาไทย เมื่อเขียนเสร็จได้นำมาปรับปรุงและทดลองใช้จนแน่ใจว่า เรื่องราวเนื้อหา ที่เด็กอ่านนับล้านคน เป็นเรื่องที่ดี บริสุทธิ์ ไม่เป็นพิษเป็นภัย ในแต่ละชั้นเรียนจะได้รู้จักคำศัพท์ใหม่ เพิ่มขึ้นในแต่ละปีการศึกษา โดยในตอนที่เป็นแบบเรียนภาษาไทยยังไม่มีชื่อ แต่รัชนี ศรีไพรวรรณ ผู้เขียนแบบเรียน เล่าว่า ก็มีคนเรียกเล่น ๆ ว่าเรื่อง "ตำนานเด็กดี" แบบเรียนนี้ใช้เวลาเขียนนานกว่า 4 ปี มุ่งหมายสอนให้ความรู้ทางภาษาทั้งการฟัง พูด อ่าน เขียน ด้วยจำนวนคำ เริ่มตั้งแต่ชั้น ป. 1 กำหนดคำไว้ 150 คำ และเพิ่มขึ้นเป็นพัน ๆ คำ เมื่อเลื่อนชั้นปี จนมาถึงปี 2537 ก็ถูกถอดออกจากแบบเรียนเพราะเนื้อหาในหนังสือเรียนไม่ทันยุคทันสมัย

สาระของบทเรียน
--------------------------------------------------------------------------------------------
มานะ มานี ปิติ ชูใจ มีเรื่องราว ตัวละคร และการดำเนินเรื่องเหมือนชีวิตจริง เพื่อให้เรื่องสนุกสนาน น่าอ่าน และเพิ่มประสบการณ์ทางภาษา มีเรื่องราวแสดงบทบาทของตัวละครและเหตุการณ์ ที่แสดงบุคลิกนิสัยและคุณธรรม แต่ละบทมีภาพประกอบ ท้ายของแต่ละบท มีแบบฝึกฝนความรู้ โดยใช้ประมวลคำพื้นฐานในชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-4 จำนวน 4,000 คำ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 450 คำ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 800 คำ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 1,200 คำ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 1,550 คำ สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5-6 ไม่กำหนดประมวลคำ

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1

เล่ม 1-2 รวม 40 บท มีคำใหม่ 450 คำ โดยเล่ม 1 นำคำที่สื่อความหมายได้ มาเรียงเป็นคำ ๆ ผสมคำจากพยัญชนะบางตัวและรูปสระง่าย ๆ เริ่มจาก แม่ ก กา จนมีตัวสะกดทั้ง 8 แม่ คำควบกล้ำ, อักษรนำ, สระ, เครื่องหมายไม้ยมก, รูปวรรณยุกต์ทั้ง 4 รูป และเครื่องหมายทัณฑฆาต คำต่าง ๆ นั้นผูกเป็นเรื่องราว มีตัวละครจำนวน 5 คน ได้แก่ มานะ, ปิติ, วีระ เด็กหญิง 2 คน ได้แก่ มานี, ชูใจ มีสัตว์เลี้ยงประจำตัวเด็ก เช่น มานี มานะ มีหมาชื่อ เจ้าโต, วีระ มีลิง ชื่อ เจ้าจ๋อ, ปิติ มีม้า ชื่อ เจ้าแก่ และชูใจ มีแมวชื่อ สีเทา
เล่ม 2 มีเนื้อหาสอดแทรกให้เด็กรู้จักรักสัตว์ รักเพื่อน รักธรรมชาติ รักษาความสะอาดในโรงเรียน ตลาด มารยาทสังคม เช่นการกล่าวสวัสดี ขอโทษ ครับ ค่ะ เป็นต้น

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2

รวมมี 30 บท มีคำใหม่ 800 คำ ตัวละครยังคงเป็นชุดเดิม สอนคำใหม่อย่าง คำควบกล้ำ, ตัวสะกดไม่ตรงมาตรา, อักษรนำ การย้ำคำที่ ย, ว สะกด โดยผูกกับเรื่องราวที่มีสาระเกี่ยวกับประสบการณ์ที่เด็กควรรู้ ควรปฏิบัติ เช่น การศึกษาเล่าเรียนในโรงเรียน, ดวงจันทร์, รุ้งกินน้ำ, การเดินทางโดยรถไฟ, ภูมิประเทศสองข้างทางรถไฟ ทำความรู้จักกับยานพาหนะชนิดต่าง ๆ เช่น เครื่องบิน, รถยนต์ ยังคงกล่าวย้ำเรื่องความสะอาดในสถานที่ต่าง ๆ วัฒนธรรมอย่างการขนทรายเข้าวัด ตักบาตร ลอยกระทง นอกจากนั้นยังสอนให้รู้จักเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน สัญญาณจราจร, การรู้จักบุคคลในท้องถิ่น เช่น สาธารณสุขอำเภอ, เกษตรอำเภอ, ตำรวจ, นายอำเภอ เป็นต้น

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3

รวมมี 20 บท มีคำใหม่ 1,200 คำ สอนเรื่องคำที่สะกดไม่ตรงมาตราในแม่ต่าง ๆ, การใช้ รร, ทร เป็น ซ, กลุ่มคำซ้อน, คำประวิสรรชนีย์, คำพ้องเสียง, คำราชาศัพท์ที่ควรรู้ ผูกเรื่องราวโดยแทรกนิทานพื้นบ้างอย่าง โสนน้อยเรือนงาม, ศรีธนนไชย, พระอภัยมณี ตอนสุดสาครปราบม้านิลมังกร, ขุนช้างขุนแผน ตอนพลายชุมพลปราบจระเข้ นอกจากนั้นยังมี เรื่องความรู้ทั่วไปนำมาสอดแทรกอย่างเช่น ยาเสพติด กิจกรรมของลูกเสือ ความรู้เชิงธรรมชาติศึกษา และยังมีการนำวรรณคดีไทย นิทานพื้นบ้าน แทรกเข้ามา ส่วนตัวละครเริ่มเห็นนบุคลิกภาพต่าง ๆ กัน

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4

รวมมี 30 บท มีคำใหม่ 1,550 คำ นอกจากการเรียนรู้ภาษาไทยยังมีให้ความรู้ในวิชาอื่น ในส่วนภาษาไทย ความรู้ที่ได้เช่น เกมต่อคำไทย, กลุ่มคำ, รูปประโยคแบบต่าง ๆ, สำนวน, พังเพย, ภาษิตต่าง ๆ, ปริศนาคำทาย, การเขียนจดหมาย, การบันทึกประจำวัน, การใช้เครื่องหมายต่าง ๆ เช่น ? ! ( ) ฯลฯ ราชาศัพท์ มีเรื่องวรรณคดีไทยอย่างเช่น ขุนช้างขุนแผน ตอน กำเนิดพลายแก้ว, คนังเงาะน้อย, สังข์ทอง, รามเกียรติ์ ตอน หนุมานลองดีพระฤๅษี, สุวรรณสาม ในด้านการให้ความรู้ประวัติศาสตร์เช่น ดอนเจดีย์, ท้าวเทพกษัตรีย์ ท้าวศรีสุนทร ส่วนด้านประเพณีไทยเช่น สงกรานต์, เล่นสะบ้า, ละครลิง, เพลงพวงมาลัย ในด้านความรู้ด้านอาชีพ เช่น เกษตรอำเภอ, การเลี้ยงปลานิล, การปลูกเงาะ, การเลี้ยงหอย นอกจากนั้นยังให้ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์พื้นฐาน เช่น การทำโทรศัพท์อย่างง่าย อีกทั้งยังมีการสอดแทรกด้านจริยธรรม เช่นการที่ปิติที่ไม่ยอมลอกข้อสอบของเพื่อน และตอนเก็บกระเป๋าสตางค์ได้แล้วนำไปคืนเจ้าของ

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

ในหนังสือเรียนชั้นปีนี้มี 2 ส่วน ส่วนแรกมี 20 บท ส่วนหลังเป็นนักเรียนค้นคว้านอกเวลา 4 เรื่อง มีการเรียนรู้ ความหมายของคำ ทุ่ม-โมง, ย่ำ-ยาม, เกาะหนู เกาะแมว, เกษตรกรที่หุบกะพง ส่วนด้านวรรณคดีไทย กล่าวถึงเรื่อง พระอภัยมณี ตอน สินสมุทร, รามเกียรติ์ ตอนน้ำบ่อน้อย ด้านการละเล่นไทยพูดถึงลักษณะเพลงเกี่ยวข้าว เรียนรู้เรื่องธรรมชาติและการท่องเที่ยวเช่น เรื่องธรรมชาติของน้ำตก วีรกรรมที่บ้านบางระจัน, ประเพณีบุญบั้งไฟของชาวอีสาน และนิทานเรื่องสามัคคีเภท
ส่วนหลังของเล่ม ที่เป็นหนังสืออ่านนอกเวลา 4 เรื่องคือ เรื่องนกกระจาบ, เรื่องสังข์ทอง ตอนเลือกคู่และหาเนื้อหาปลา, เรื่องการผจญภัยของผ้าขี้ริ้ว (ผลงานนักเรียน) และ เรื่องแปล 1 เรื่อง คื่อเรื่องเมาคลีลูกหมาป่า

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

เล่ม 1 มี 10 บท โดยสอนเรื่องด้านต่าง ๆ ทั้งการฟัง, พูด, อ่าน, เขียน และคิด เช่น การตั้งใจฟัง, การพูดในโอกาสต่าง ๆ, การเขียนจดหมาย, การใช้สำนวนอุปมาอุปมัย, การเลือกใช้คำให้เหมาะสมกับกาลเทศะและบุคคล เป็นต้น ในส่วนวรรณคดี เช่น เรื่อง พระรถเมรี, พระสังข์ศิลปไชย มีการให้ความรู้ด้านประวัตศาสตร์และตำนานอย่างเรื่อง พระยาพิชัยดาบหัก และประวัติวัดพนัญเชิง (พระเจ้าสายน้ำผึ้ง และนางสร้อยดอกหมาก) ในส่วนรัฐพิธี กล่าวถึงพิธีพืชมงคล, พิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ และการลงคะแนนเสียงตามระบอบประชาธิปไตย ส่วนท้ายเล่มมีหนังสืออ่านนอกเวลา 3 เรื่องคือ ละครพูดเรื่อง พระร่วง พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 6 สองตอน บทละครเรื่อง ระบำดอกฝิ่น (ผลงานนักเรียน) และเรื่องสั้น ไอ้ตุ่น ของรัชนี ศรีไพรวรรณ

เล่ม 2 มี 10 บท มีเนื้อหาเกี่ยวกับสมุดบันทึก สอนให้ฝึกหัดการบันทึก ประวัตินักเล่านิทานอย่าง อีสป และ สุนทรภู่ ในด้านภาษา สอนการฝึกพูดโต้วาที เรื่อง การอ่านยากกว่าการเขียน มีเนื้อหาวรรณคดีอย่าง เรื่อง รามเกียรติ์ ตอนศึกทรพี ส่วนในบทสุดท้าย กล่าวถึงการเรียนจบประโยคประถมศึกษา ในตัวละครของเรื่องก็แยกย้ายกันไปตามวิถีชีวิตของตน

ตัวละคร
---------------------------------------------------------------------------------------------
ภาพตัวละครในเรื่อง

มานี รักเผ่าไทย 
มีหมาน้อยชื่อ "เจ้าโต" มานีเป็นเด็กเรียนดี เป็นคนเดียวในโรงเรียนที่เรียนต่อระดับมัธยมศึกษาที่กรุงเทพ ในชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มานีเป็นรองประธานนักเรียนของโรงเรียน

มานะ รักเผ่าไทย 
เป็นพี่ของมานี มีสัตว์เลี้ยงเป็นนกแก้ว

ปิติ พิทักษ์ถิ่น 
มีม้าชื่อ "เจ้าแก่" ตอนหลังเจ้าแก่ตาย ทำให้ปิติเศร้า ต่อมาถูกสลากออมสินเป็นเงินจำนวน 1 หมื่นบาท จึงนำเงินไปซื้อลูกม้าตัวใหม่และตั้งชื่อให้ว่า "เจ้านิล" ทดแทนการตายของเจ้าแก่

วีระ ประสงค์สุข 
เป็นเด็กอาภัพ มีพ่อเป็นทหารตายในระหว่างรบ ตั้งแต่วีระยังอยู่ในท้อง ส่วนแม่ตรอมใจตายหลังจากคลอดวีระ 15 วัน ทำให้วีระอยู่กับลุงตั้งแต่เกิด วีระมีลิงแสมชื่อ "เจ้าจ๋อ"

ดวงแก้ว ใจหวัง 
มีบ้านเกิดอยู่ที่จังหวัดสุพรรณบุรี

ชูใจ เลิศล้ำ 
เป็นเพื่อนสนิทมานี มีแมวชื่อ "สีเทา" ชูใจอยู่กับย่าและอา ตั้งแต่เล็ก โดยไม่รู้รายละเอียดของพ่อและแม่ที่แท้จริง ซึ่งความจริงคือ พ่อของเธอเสียชีวิตตั้งแต่ชูใจอายุ 1 ขวบ ส่วนแม่ก็อาศัยอยู่ต่างประเทศ และต่อมาแม่บินกลับมารับชูใจกลับไปอยู่ด้วยกัน แต่ชูใจกลับเลือกอยู่กับย่า

สมคิด 
มีปู่อยู่ที่จังหวัดภูเก็ต จบป.6 แล้วก้ย้ายกลับเรียนต่อและอยู่ที่ภูเก็ต

เพชร 
เกิดในครอบครัวจน มีบ้านเกิดอยู่ที่จังหวัดอุบลราชธานี เคยพุ่งฉมวกปักงูในอุโมงค์ช่วยเหลือเพื่อน แม่ของเพชรถูกงูกัดตายขณะเก็บหน่อไม้ในป่า

จันทร 
เป็นผู้หญิง ขาลีบพิการ ในตอนท้ายของเรื่อง ได้รับคัดเลือกให้ร้องเพลง "ความฝันอันสูงสุด" และยังได้อ่านทำนองเสนาะต่อหน้าพระพักตร์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และยังได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าให้แพทย์หลวง รับตัวไปรับการผ่าตัดขาที่กรุงเทพฯ จนขาหายเป็นปกติ

คุณครูไพลิน 
เป็นครูประจำชั้นตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึง ปีที่ 3 คุณครูไพลินพบเกษตรอำเภอที่ชื่อว่า "ทวีป" ครั้งแรกเมื่อคราวไฟไหม้ตลาด ซึ่งเด็กๆ เป็นตัวเชื่อมให้ได้รู้จักและแต่งงาน ทั้งคู่มีลูกสาวด้วยกัน 1 คน

คุณครูกมล 
เป็นครูประจำชั้นตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ถึงปีที่ 6

Educational Resource: รูปแบบการทำวิจัยในชั้นเรียน

Educational Resource: รูปแบบการทำวิจัยในชั้นเรียน: การวิจัยในชั้นเรียนทำได้ 3 แบบ 1.แบบลูกทุ่ง เขียนรายงานสั้นๆ คือ ปัญหา วิธีแก้ไข ผลการแก้ไขแล้วแต่รูปแบบของครูแต่ละคนไม่ต้องแนบหลักฐานเก็บ...

Educational Resource: แนวคิดและความเข้าใจ การทำวิจัยในชั้นเรียน

Educational Resource: แนวคิดและความเข้าใจ การทำวิจัยในชั้นเรียน: ข้อคิดในการทำวิจัยในชั้นเรียน  1. สำนักงาน ก.ค. ไม่ต้องการอ่านงานวิจัย 5 บท จากครูที่ไปให้คนอื่นช่วยทำและไม่ต้องการอ่านงาน วิจัยที่ครูทำค...

รูปแบบการทำวิจัยในชั้นเรียน

การวิจัยในชั้นเรียนทำได้ 3 แบบ

1.แบบลูกทุ่ง เขียนรายงานสั้นๆ คือ ปัญหา วิธีแก้ไข ผลการแก้ไขแล้วแต่รูปแบบของครูแต่ละคนไม่ต้องแนบหลักฐานเก็บไว้ที่ห้องเรียนวิธีการแก้ปัญหาเป็นกลวิธีของแต่ละคนไม่ต้องการให้ผู้อื่นยอมรับ

2.แบบลูกทุ่ง เขียนรายงานในประเด็นหลัก ประมาณ 3-10 หน้าอาจแนบเอกสารประกอบหรือเก็บไว้ที่ห้องเรียน

3.แบบสากล เป็นการเขียนรายงานแบบ 5 บท เชื่อถือ ตรวจสอบเป็นสากลได้

แบบที่ 3 เป็นแบบที่ครูผู้สอนทั่วไปคิดว่าเป็นงานวิจัยที่ต้องทำ ความจริงแล้ว ไม่ต้อง แค่การทำวิจัยแบบลูกทุ่ง 2 แบบข้างต้น ก็เพียงพอแล้วล่ะ เอาแค่หัวใจที่อยากพัฒนาผู้เรียน และความขยันอีกนิดหน่อย ก็เพียงพอแล้วสำหรับครู ๆ อย่างเราๆ ท่านๆ


แนวคิดและความเข้าใจ การทำวิจัยในชั้นเรียน

ข้อคิดในการทำวิจัยในชั้นเรียน 

1. สำนักงาน ก.ค. ไม่ต้องการอ่านงานวิจัย 5 บท จากครูที่ไปให้คนอื่นช่วยทำและไม่ต้องการอ่านงาน วิจัยที่ครูทำครั้งเดียวแล้วเลิก แต่ต้องการเห็นกระบวนการพัฒนาวีการสอนของครูที่เป็นไปอย่างต่อเนื่อง ควรแสดงหลักฐานให้เห็นว่าเด็กของเราเรียนดีขึ้น มีการแก้ปัญหาอย่างไร ผลเป็นอย่างไร ใช้ภาษาธรรมดา ภาษาโดยธรรมชาติของครูไม่ใช่ภาษาวิจัยที่ครูไม่ถนัดและไม่คุ้นเคย

 2. การวิจัยในชั้นเรียนมุ่งเน้นให้ครูเป็นครูนักวิจัย เพื่อแก้ปัญหาพัฒนาการเรียนการสอนของผู้เรียนที่ตนเอง รับผิดชอบซึ่งต่างจากการวิจัย 5 บท หรือการวิจัยเชิงวิชาการ พ.ร.บ. การศึกษา 2542 มุ่งเน้นให้ครูวิจัยเพื่อแก้ปัญหา และพัฒนาผู้เรียน เขียนรายงานง่ายๆ เพียง 1 หน้า หรือ 3-10 หน้า เป็นการสอนนำการวิจัยตามซึ่งเป็นภารกิจของครูต้องทำตามปกติ มิใช่เป็นงานใหม่แต่ครูเข้าใจผิดคิดว่างานวิจัยในชั้นเรียนคืองานวิจัย 5 บท

ซึ่งความจริงแล้ว งานวิจัย 5 บท เป็นงานวิจัยของนักศึกษาระดับปริญญาโท ซึ่งไม่เหมาะในการนำมาใช้ในการทำวิจัยในชั้นเรืียน อันเนื่องมาจากครูผู้สอน ไม่มีเวลามากมายในการรวบรวมข้อมูลในระดับนั้น และมีความยุ่งยากสำหรับครูผู้สอนในโรงเรียน

ฉะนั้นแล้วโปรดปรับทัศนคติใหม่ และอย่าคิดว่าการทำวิจัยนั้นยุ่งยากเกินกว่าที่จะทำ ขอแค่ครูมีใจที่จะแก้ปัญหาในห้องเรียน การทำวิจัยจะไม่ใช่เรื่องยุ่งยาก


การวิจัยหน้าเดียว

การเขียนรายงานวิจัยหน้าเดียว

ความจริงการวิจัยในระดับประถมศึกษา ใช้การวิจัยหน้าเดียวก็เพียงพอแล้ว แต่ครูส่วนมากเองยังสับสนและให้ความสำคัญกับการวิจัย 5 บท เหมือนของระดับปริญญาโท ซึ่งทำให้ครูผู้สอน ยุ่งยาก และไม่อยากทำวิจัย

การวิจัยที่แท้จริงแล้ว ก็เพื่อการนำมาแก้ปัญหาในเรื่องนั้นๆ

ดังนั้น วิจัยหน้าเดียว จึงถือได้ว่าเพียงพอแล้วในระดับประถม  ซึ่งการเขียนรายงานวิจัยหน้าเดียว เขียนได้ง่ายมาก ไม่มีความยุ่งยากซับซ้อนอะไร แต่ที่มันยากคือ ครูไม่ได้ทำการวิจัยจริง เพียงแต่ลอกงานวิจัยของคนอื่นแล้วนำมาปรับแก้นิดหน่อย เพื่อส่งเป็นชิ้นงานให้ผู้บริหาร ซึ่งนั่นไม่ใช่สิ่งที่ถูกต้อง

ตัวอย่าง การเขียนรายงานวิจัยหน้าเดียว 

ที่มาของปัญหา
ในขณะที่ครูผู้สอนได้จัดการเรียนการสอนพบว่าผู้เรียนไม่สนใจความรู้ในเชิงวิชาการขณะที่ครูสอนแต่ผู้เรียนชอบเล่นกันในเวลาเรียน
วิธีการแก้ปัญหา/วิธีการพัฒนา
ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556 พบว่า นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5  ไม่สนใจเรียนขณะที่ครูจัดการเรียนการสอน ประมาณ 70 เปอร์เซ็นต์ แต่ชอบเล่นกันมากกว่าเรียน
1. ครูผู้สอนจึงได้ให้นักเรียนสืบค้นข้อมูลจากอินเตอร์เน็ตในเรื่องที่ครูสอน
2. นำสิ่งที่นักเรียนสืบค้นได้มารายงาน ให้ครู ทีละคน
3. ผู้เรียนชอบที่จะสืบค้นด้วยตนเองจากอินเตอร์เน็ต เพราะมีภาพเคลื่อนไหวและภาพประกอบสวยงาม
ผลการแก้ไข/ผลการพัฒนา
1. ทำให้ผู้เรียนได้ฝึกการค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเอง
2. ทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างหลากหลาย
3. ทำให้ครูและผู้เรียนได้เกิดการเรียนรู้ร่วมกัน
4. สนองต่อการเรียนรู้ตามแนวปฏิรูปการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ
ข้อเสนอแนะ
1. การศึกษาวิธีนี้เป็นจุดเริ่มต้นของการวิจัยให้กับผู้เรียน ทำให้ผู้เรียนรักการค้นคว้าเห็นคุณค่า
2. ควรส่งเสริมให้ผู้เรียนศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองด้วยวิธีการต่างๆ แทนที่จะรับจากครูฝ่ายเดียว
3. ควรส่งเสริมวิธีการค้นคว้าหาความรู้หลายๆ วิธี
ด้านบนนั้นคือ ตัวอย่างง่าย ๆ ที่จะช่วยให้ครูผู้สอน ผู้ทำวิจัยแก้ปัญหานักเรียน ในด้าน ในเรื่องต่างๆ มีความมั่นใจ ในการที่จะทำวิจัยมากขึ้น

ไฟล์ตัวอย่าง ดาวน์โหลดได้ตรงนี้

แผนการสอน อาเซียนศึกษา ระดับ ป.1-ป.6

แผนการสอน อาเซียนศึกษา ระดับ ป.1-ป.6

นำไปใช้และศึกษาเพื่อเป็นแนวในการเขียนแผนการสอนเพิ่มเติม
โปรดอย่าใช้ แบบนี้ทั้งๆ ที่ยังไม่ได้มีการปรับปรุงแก้ไขนะจ๊ะ มันไม่ดี และมักง่ายเกินไป

ตัวอย่างแผนการสอน อาเซียนศึกษา

ตัวอย่างแผนการสอนบูรณาการ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑

ตัวอย่างแผนการสอนบูรณาการ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒

ตัวอย่างแผนการสอนบูรณาการ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓

ตัวอย่างแผนการสอนบูรณาการ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ 

ตัวอย่างแผนการสอนบูรณาการ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕

ตัวอย่างแผนการสอนบูรณาการ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖